ปัจจัยและกระบวนการในการเลือกซื้อวัสดุสำนักงานของหน่วยงานภาครัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Factors and Procedures in Decisively Purchasing the Office Supplied Materials and Equipment of the Government Organizations in Muang District, Chiang Rai Province
Name: พิณทิพย์ คำมาต
keyword: พัสดุ การจัดซื้อ
Abstract: ศึกษาปัจจัยและกระบวนการในการเลือกซื้อวัสดุสำนักงานของหน่วยงานภาครัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และเปรียบเทียบปัจจัยและกระบวนการในการเลือกซื้อวัสดุสำนักงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่จัดการศึกษากับไม่จัดการศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับงานพัสดุรวมทั้งสิ้น 73 แห่ง ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่ไม่จัดการศึกษา จำนวน 59 แห่ง และหน่วยงานที่จัดการศึกษา จำนวน 14 แห่ง ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยและกระบวนการในการเลือกซื้อวัสดุสำนักงาน การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยแจกแบบถามจำนวน 73 ฉบับ และได้กลับคืนมา 71 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 97.26 และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวน ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทำการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทีแบบสองกลุ่มอิสระต่อกัน (t-test Independent) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อวัสดุสำนักงานของหน่วยงานภาครัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายในแต่ละด้านสรุปได้ดังนี้ด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยในการเลือกสูงสุด คือ เลือกซื้อจากคุณภาพของสินค้า ต่ำสุด คือ เลือกซื้อโดยพิจารณาจากบรรจุภัณฑ์ ด้านราคา ปัจจัยในการเลือกสูงสุด คือ ซื้อสินค้าที่มีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพสินค้า ต่ำสุด คือ ซื้อสินค้าในช่วงที่มีการลดราคา ด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยในการเลือกสูงสุด คือ ซื้อสินค้าที่มีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพสินค้า ต่ำสุด คือ ซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยในการเลือกสูงสุด คือ ซื้อสินค้าที่มีการรับประกัน ต่ำที่สุด คือ ซื้อสินค้าจากร้านที่มีการโฆษณาจากสื่อสิ่งพิมพ์ของท้องถิ่น ตามลำดับ กระบวนการในการเลือกซื้อวัสดุสำนักงานของหน่วยงานภาครัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายในแต่ละด้านสรุปได้ดังนี้ ด้านการรับรู้ถึงความต้องการ กระบวนการที่ดำเนินงานสูงสุด คือ มีการวางแผนในการจัดซื้อประจำปีงบประมาณต่ำสุด คือ มีการสำรวจความต้องการใช้วัสดุของบุคลากรในหน่วยงาน ด้านการค้นหาข้อมูล กระบวนการที่ดำเนินงานสูงสุด คือ มีการตรวจสอบงบประมาณที่ได้รับก่อนทำการจัดซื้อ ต่ำสุด คือ สำรวจข้อมูลของร้านค้า ด้านการประเมินผลทางเลือก กระบวนการที่ดำเนินงานสูงสุด คือ เปรียบเทียบราคาก่อนทำการจัดซื้อ ต่ำสุด คือ เปรียบเทียบการส่งเสริมการตลาดก่อนทำการจัดซื้อ ด้านการตัดสินใจซื้อและการดำเนินงาน กระบวนการที่ดำเนินงานสูงสุด คือ ดำเนินการจัดซื้อด้วยวิธีการตกลงราคา ต่ำสุด คือ ดำเนินการจัดซื้อด้วยวิธีกรณีพิเศษ ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ กระบวนการที่ดำเนินงานสูงสุด คือ การซื้อครั้งต่อไปจะพิจารณาจากร้านเดิมที่เคยซื้อ ต่ำสุด คือ สั่งวัสดุใหม่จากร้านที่มีราคาถูก ตามลำดับ การเปรียบเทียบความแตกต่างในเรื่องปัจจัยในการเลือกซื้อวัสดุสำนักงานของหน่วยงานภาครัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่จัดการศึกษากับไม่จัดการศึกษา พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และรายการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เลือกซื้อโดยพิจารณาจากการบริการของร้านค้า ซื้อสินค้าครั้งละมากๆ เพื่อลดต้นทุนและซื้อสินค้ากับร้านค้าที่มีบริการส่งสินค้า การเปรียบเทียบความแตกต่างในเรื่องกระบวนการในการเลือกซื้อวัสดุสำนักงานของหน่วยงานภาครัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่จัดการศึกษากับไม่จัดการศึกษา พบว่า การรับรู้ถึงความต้องการ การค้นหาข้อมูล การประเมินผลทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และการดำเนินงานและพฤติกรรมหลังการซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และรายการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ดำเนินการจัดซื้อด้วยวิธีการสอบราคา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สำนักวิทยบริการฯ
Address: ปริญญาโท
Role: ประธานกรรมการ
Role: กรรมการ
Role: กรรมการ
Modified: 2557-08-15
Created: 2550
Issued: 2551-07-15
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ658.72
tha
DegreeName: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การจัดการทั่วไป
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น