เรื่องที่ 1
อุบล มีแสง, อรสา จรูญธรรม และสุวรรณาโชติสุกานต์ (2556) การบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่7 ฉบับที่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2556 หน้า 127 - 140
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี และเพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานงบประมาณ ของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จําแนกตามประสบการณ์การทํางาน และประเภทของโรงเรียนประชากรคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในงานงบประมาณของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี จํานวน 553คน กลุ่มตัวอย่างคํานวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane)ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 232 คน เครื่องมือที่ใช่เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่ามีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ทดสอบที (t-test) สําหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน(Independent Samples)ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05
เรื่องที่ 2
ตุลยภาค ตุยาสัย และพัชรีวรรณ กิจมี (2561) การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษา:แนวทางสําหรับการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประถมศึกษา
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ปีที่ 12 ฉบับ Supplement (2561) หน้า 98 - 112
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาและเพื่อศึกษาแนวทางสําหรับการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประถมศึกษาใน ตําบลลี้ และตําบลวังดิน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยได้แก่ผู้อํานวยการโรงเรียน เจ้าหน้าที่การเงิน และบุคลากรที่ทําหน้าที่ทางการเงินของโรงเรียนปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้นจํานวน 25 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนประถมศึกษาแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนประถมศึกษาได้ปฏิบัติตามกระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานครบทั้ง 7 ด้านได้แก่ 1.1) ด้านการวางแผนงบประมาณ มีการจัดสรรงบประมาณโครงการพร้อมจัดประชุมชี้แจงแผนงบประมาณให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 1.2) ด้านการคํานวณต้นทุนผลผลิต ได้มีการคํานวนต้นทุนของโครงการต่างๆในกระบวนการดําเนินงาน 1.3) ด้านการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง โรงเรียนได้ดําเนินขั้นตอนตามระเบียบพัสดุพ.ศ. 2535 1.4) ด้านการบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่การเงินเพื่อบริหารงานบัญชี 1.5) ด้านการบริหารสินทรัพย์โรงเรียน ได้ตรวจสอบความต้องการสินทรัพย์มีการควบคุมตรวจสอบพัสดุครุภัณฑ์ตามระบบ 1.6) ด้านการรายงานทางการเงินและผลการดําเนินงาน จะมีการรายงานผลการดําเนินงานเป็นวาระให้กับหน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ 1.7) ด้านการตรวจสอบภายใน โรงเรียนได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบภายในพร้อมทั้งให้รับการตรวจสอบภายในจากหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อแสดงถึงการบริหารงบประมาณที่โปร่งใส 2) การศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานแสดงให้เห็นถึงปัญหางบประมาณไม่เพียงพอต่อ การดําเนินโครงการบุคลากรด้านการเงินภายในโรงเรียนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในระเบียบและวิธีการบริหารงบประมาณที่ถูกต้องเหมาะสมอีกทั้งยังบกพร้องในกระบวนการคํานวณต้นทุนผลผลิตขาดความชํานาญในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและขาดการเชื่อมโยงของขั้นตอนในการบริหารงบประมาณภายในโรงเรียน 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานต้องเชื่อมโยงการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานทั้ง 7 ด้านเข้าด้วยกัน เพื่อให้การบริหารงบประมาณเกิดประสิทธิภาพอาจต้องจํากัดจํานวนโครงการให้เหลือเฉพาะโครงการสําคัญซึ่งจะช่วยให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพมากขึ้นมีการส่งเสริมเด็กนักเรียนให้สามารถนําวิชาความรู้ไปปฏิบัติ เพื่อหารายได้โดยครูจะช่วยส่งเสริมหรือจัดตั้งเป็นชมรมและการบริหารงบประมาณไม่ได้มีวิธีการเฉพาะเจาะจง ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่การเงิน และบุคลกรที่ทําหน้าที่ด้านการเงินจะต้องมีการสื่อสารกับบุคลากรอื่นภายในโรงเรียนเพื่อช่วยออกแบบวิธีการบริหารงบประมาณให้ไปในทิศทางเดียวกัน
เรื่องที่ 3
ราชัน คำบุญเรือง, มนต์นภัส มโนการณ์ และยงยุทธ ยะบุญธง (2560) คู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลังจังหวัดเชียงใหม่
วาระสารVeridian E-Journal,Silpakorn University ปีที่ 10 ฉบับที่ 3เดือนกันยายน–ธันวาคม 2560 หน้า 86 - 103
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่กลุ่มเป้าหมาย 1) การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานพัสดุ ผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติงานพัสดุและผู้รับบริการงานพัสดุ รวม 18 คน 2) การตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ จ านวน 5 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 23 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบสังเกตการณ์น าคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุไปปฏิบัติ 4) แบบบันทึกประชุม 5) แบบตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ 6) แบบบันทึกกิจกรรมการถอดบทเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น